
ก่อนหน้านี้เป็นที่ถกเถียงกันว่าในบ้านเราจำเป็นขนาดนั้นเหรอที่จะมี 5G เพื่อให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่สูงมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ 4G ก็เร็วแบบเหลือเฟืออยู่แล้ว และหลายคนก็คงพอทราบอยู่แล้วว่าเมื่อ 5G เข้ามา อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่งหรือ IoT (ไอโอที) ก็จะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนปัญญาประดิษฐ์หรือ AI นั้นมันก็เกิดของมันอยู่แล้ว แต่ก็ยังจับต้องไม่ได้มากนัก

โดยเฉพาะชาวบ้านตาดำ ๆ อย่างเรา ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า 5G หน้าตาเป็นยังไง IoT คืออะไรหว่า? ส่วน AI นั้นยิ่งไปกันใหญ่ มึนตึบ! แต่รู้หรือไม่? โควิด 19 กำลังเป็นแรงผลักดันครั้งสำคัญทำให้ 5G ,IOT และ AI ได้แจ้งเกิด!
ทุกคนอาจจะพอทราบแล้วว่า 5G ก็คืออินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง แบบว่าส่งไฟล์หนังขนาด 8k ได้จบเรื่องภายในเวลาแค่ 5 วินาที หมายความว่า ไม่ว่าเราจะส่งไฟล์ในรูปแบบใด หรือใหญ่แค่ไหน ก็สามารถที่จะส่งได้ในแบบเรียลไทม์ ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ธรรมดาๆพื้นๆมาก แต่ความจริงการที่เราสามารถส่งข้อมูลได้แบบ Real Time ไม่มีสะดุดและรวดเร็ว จะมีประโยชน์เป็นอย่างมากในหลายวงการ
– โควิดผลักดันการแพทย์สมัยใหม่ให้ใช้งาน 5G

อย่างในวงการการแพทย์ในบ้านเรา โรงพยาบาลศิริราช ได้วางแผนริเริ่มใช้งาน 5G มาช่วยในการปรึกษาแพทย์ทางไกล เพื่อลดเวลาการเดินทาง การรับการรักษากับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที รวมไปจนถึงการผ่าตัดทางไกล (telesurgeries) อย่างเช่นในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่พื้นที่ห่างไกลอย่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือผู้ป่วยที่อยู่ต่างประเทศ
ก่อนหน้านี้การรับการผ่าตัดทางไกลเป็นเคสที่เริ่มต้นในประเทศฝรั่งเศส ในปีพ. ศ. 2554 แต่พบว่ายังไม่ตอบโจทย์มากนัก และไม่เป็นที่นิยม เพราะในขณะนั้น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ยังถือว่าอินเทอร์เน็ตช้าเกินไป ไม่เป็นแบบ Real Time อย่างในปัจจุบัน ภาพที่ได้ก็จะไม่คมชัด ทำให้ประสิทธิภาพในการผ่าตัดรักษาไม่สูงมากพอ แต่ปัจจุบันเมื่อ 5G เข้ามาก็สามารถทำได้แล้ว

ในอดีตนั้น คุณจะมองว่าการรักษา หรือการผ่าตัดระยะไกลน่าจะมีประโยชน์กับวัตถุประสงค์หลัก 3 ประเด็นหลัก อันได้แก่การใช้การผ่าตัดระยะไกลในภาวะสงคราม การใช้การผ่าตัดระยะไกลบนอวกาศ และการใช้การผ่าตัดระยะไกลเมื่อเกิดภาวะโรคระบาด
ซึ่งปัจจุบันเมื่อ โควิด 19 เข้ามา ก็เลยกลายเป็นอุทาหรณ์ของคนไทยและทั่วโลกว่า หากไม่เตรียมการไว้ก่อน เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นมาอีกครั้ง ยางการเกิดโรคระบาดอย่างเช่น covid-19 ก็อาจจะสายเกินไป เพราะยังมีหลายโรคที่จำเป็นที่ต้องได้รับการผ่าตัดอย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ จะเห็นว่าทางโรงพยาบาลศิริราชได้นำร่องโครงการรถอัจฉริยะไร้คนขับ 5G เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการของโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และพานักงานของบุคลากรทางการแพทย์ ชื่อโครงการดังกล่าวอยู่ในขั้นการทดลองเพื่อนำมาใช้งานได้จริงกับด้านอื่น ๆ ต่อไป
ในขณะที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้นำเทคโนโลยี AI ( AI Watson for Oncology ) หรือก็คือปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการวิเคราะห์การรักษา ซึ่งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ชื่อเป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรกที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้ ขณะเดียวกันปัญหาส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เสียชีวิต คือการเข้าถึงการรักษาที่สายเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก็กำลังดำเนินการสร้างเครือข่าย telemedicine เพื่อมาแก้ไขปัญหานี้ด้วยเช่นกัน
จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เฉพาะในสนามบิน หรือโรงแรมเท่านั้นที่เริ่มมี New Normal จากวิกฤตโควิด ที่ผลักดันให้ระบบเทคโนโลยี 5G และ IoT แจ้งเกิดได้เร็วขึ้น แต่ยิ่งกว่านั้น แม้แต่โรงพยาบาลที่อยู่ในวงการการแพทย์ก็เริ่มที่จะนำเทคโนโลยี 5G , IoT , และ AI มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นความล้ำหน้าของเทคโนโลยีรอบๆตัวเราที่กำลังก้าวหน้าไปอีกขั้น
#วงการไอที #โปรแกรมใหม่ #5GCovid-19 #IoT